Image

About Us

ประวัติกองวิชา

นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองสงบลงแล้ว กระทรวงกลาโหมได้จัดอัตรากองทัพบกตามอัตรากองทัพบก 89 ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 ซึ่งทำให้กรมยุทธศึกษาทหารบกได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ อาทิ เปลี่ยนชื่อกรมยุทธศึกษาทหารบก เป็นโรงเรียนนายร้อยทหารบก ตลอดจนยุบโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก เลิกสอนวิชาตำรวจ และเลิกโรงเรียนเตรียมทหารบก ปี พ.ศ. 2490 กระทรวงกลาโหมได้แก้ไขนายกองทัพบก 2489 ตามคำสั่งพิเศษกระทรวงกลาโหม เรื่องแก้ไขนายกองทัพบก มีหน่วยขึ้นตรงตือ แผนกการศึกาา ในแผนกการศึกษา มีหน่วยขึ้นตรงคือ หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ในหมวดวิชา มีหมู่วิชาฟิสิกส์ ต่อมากองทัพบกได้แจ้งความประสงค์ในการตั้งชื่อโรงเรียนนายร้อยทหารบกใหม่ว่า "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า" ไปยังสำนักพระราชวัง เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ทรงทราบในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทหารพระบรมราชานุญาต ปี พ.ศ. 2492 มีการปรับอัตรากองทัพบก 89 (ครั้งที่ 13) ให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามีหน่วยขึ้นตรงคือ กองการศึกษา ในกองการศึกษามีหน่วยขึ้นตรงคือ แผนกวิชาฟิสิกส์และเคมี และมีคำสั่งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าพิเศษที่ 11/1991 ลง 22 มกราคม 2492 ให้ พันโท เฉลิม พร้อมเพรียวพันธ์ อาจารย์แผนกวิชาฟิสิกส์และเคมี เป็นผู้ทำการแทนหัวหน้าแผนกวิชาฟิสิกส์และเคมี ในปี พ.ศ. 2525 ได้ปรากฏชื่อ กองวิชาฟิสิกส์ มี พันเอก ทองรัก นิ่มศิริ เป็นหัวหน้ากองวิชาฟิสิกส์


ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ภารกิจ พันธกิจ นโยบาย

ปรัชญา
ปรัชญากองวิชาฟิสิกส์ ยึดถือปรัชญาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยยึดมั่นในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่นักเรียนนายร้อย เมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2452 ดังนี้ "...การทหารนั้น ที่จะสำเร็จไปได้ก็โดยที่มีผู้บังคับบัญชาควบคุมให้พอแก่การ ถึงแม้ว่าเราจะมีพลทหารมากมายเท่าใดก็ดี แต่ไม่มีผู้ที่จะควบคุมทหารเหล้านั้นเข้าสนามรบ ทหารเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะได้ใชยชำนะแก่ข้าศึกได้เลย ย่อมต้องอาไศรยนายทหารที่มีคววามรู้แลมีสติปัญญา สามารถที่จะไปสู่ไชยชำนะได้ แลควบคุมบังคับบัญชาในเวลาปกติ ก็นายทหารนั้นจะได้มาจากไหนเล่า ก็ต้องได้มาจากโรงเรียนนายร้อย คือจากพวกเจ้านี้เอง เพราะฉนั้นเจ้าทั้งหลายจงตั้งอุตสาหะ พยายามในการเล่าเรียนวิชาของตนให้ดีเถิด เตรียมการที่จะทำน่าที่ซึ่งสำคัญที่สุด ซึ่งถ้าพูดในทางทำการให้แก้เจ้าแผ่นดิน ก็เป็นการฉลองพระเดชพระคุณดีที่สุดยิ่งกว่าอย่างอื่น คือน่าที่ป้องกันความอิศระภาพของบ้านเกิดเมืองนอนของเรา..." จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเบื้องตน สรุปความว่า การสร้างนายทหารที่มีความรู้และสติปัญญาให้สามารถควบคุมบังคับบัญชาในเวลาปกติและสงคราม เพื่อป้องกันอธิปไตยของบ้านเมือง เป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ดังนี้ "เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่สร้างผู้นำให้มีความรู้ มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์ความรักชาติ"

ปณิธานของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มุ่งผลิตนายทหารสัญญาบัตรที่มีคุณลักษณะและขีดความสามารถที่กองทัพบกต้องการ และเป็นที่ยอมรับของสังคม

วิสัยทัศน์ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
เป็นสถาบันอุดมศึกษาทางทหาร ที่ผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักชั้นนำในระดับหมวดเป็นที่ยอมรับนานาชาติ

วัตถุประสงค์ของกองวิชาฟิสิกส์
มีความรู้ทางวิชาการระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสภากลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้นักเรียนนายร้อยที่สำเร็จการศึกษาเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ทั้งสามสาขา คือ สาขาฟิสิกส์ สาขาวิชาเคมี และสาขาวิชาชีววิทยา ทั้งในด้านความรู้พื้นฐานและการนำไปใช้ ซึ่งนับได้เว่าเป็นผู้รู้ทางกว้าง นอกจากนั้นยังเป็นผู้ได้ฝึกทักษะ และพัฒนาความคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันได้แก่ สังเกต ทดลอง รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล สามารถใช้หลักการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

พันธกิจ
ผลิตนักเรียนนายร้อยให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรหลัก ตรงตามคุณลักษณะที่กองทัพบกต้องการ สร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ วิชาทหาร และการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เทิดทูนและดำรงไว้ สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ บริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

HOME

Top